วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพตัวอย่างการแสดง / Gallery Picture


 http://www.surin.go.th/show/index.php

เที่ยวสุรินทร์ / Exploring Surin

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์
จางวาง (เชียงปุม) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่
ระลึกถึงผู้สร้างเมืองคนแรก ตั้งอยู่ทาง
เข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้ ตรงหลัก
กิโลเมตรที่ 0 ถนนสุรินทร์-ช่องจอม
The Statue of Phraya Surin Phakdi Srinarong
Chang Wang (Chiang Pum) was erected
in 1984 to commemorate the establishment of
Surin Province by him. The monument is situated
at the southern entrance to Muang Surin at
the starting point of Surin-Prasat road.
----------------------

หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม ห่างจากจังหวัดสุรินทร์
ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 62 กิโลเมตร ชาวบ้านตากลางเดิมเป็น
ชาวส่วย มีอาชีพคล้องช้าง ฝึกช้างและเลี้ยงช้าง
Elephant Village, Ban Ta Klang is
locate some 62 kms. form north of
town. This ancient Kui village has
raised elephants for hundreds of
years. In the old days, Pachi, the head
of mahouts, led a number of fellow
mahouts to catch wild elephants in
border of Thai-Cambodia.
-----------------------------------------------

หมู่บ้านทอผ้าไหมสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์มีหมู่บ้านที่มีชื่อ
เสียงในด้านการทอผ้าไหม
โดยเฉพาะผ้าไหมลายพื้นเมือง
สามารถชมและเลือกซื้อได้ทุก
ที่ เช่น บ้านสวาย บ้านเทนมีย์
บ้านจันรม อ.เมืองสุรินทร์,
บ้านเขวาสินรินทร์ บ้านนาโพธิ์
อ.เขวาสินรินทร์, บ้านอู่โลก อ.ลำดวน และที่สำคัญจังหวัดสุรินทร์
ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทอผ้าไหมยกทองโบราณ โดยสถานที่ทอคือ
บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ประมาณ
10 กิโลเมตร เปิดให้นักท่องเที่ยวไปชมได้ทุกวัน
Silk Weaving Village, Surin is famous for its elaborate hand woven silk. The
ancient silk patterns for example attern “Whole” and pattern “Amprom” are
different from others with colors, thread, dyeing techniques, and weaving styles.
Major weaving villages are Sawai village, Tenmee village, Chan-rom village in
Muang District; Khwao Sinarin village, Napho village in Khwao Sinarin District,
Au-lok village in Lamduan District. Surin Province is selected to make “an ancient
brocade silk” to present it to APEC leaders as a gift from Thailand in October
2003. This special pattern of silk is woven in Thasawang village, Muang District
10 kms. from downtown Surin. Tourists can visit there everyday.

---------------------------------------------
http://www.surin.go.th/show/index.php

ความเป็นมาของการจัดงาน / Surin Elephant RoundUp

     เมื่อปี พ.ศ. 2498 มีการรวมช้างทั้งหมดในจังหวัดในจังหวัดสุรินทร์ ขึ้นเป็นครั้งแรก มี
การรวมกันประมาณ 200 เชือก ที่ อำเภอท่าตูม โดยนายอำเภอท่าตูมคือ นายวินัย สุวรรณกาศ เป็นผู้
จัดขึ้น ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจมาก นายอำเภอจึงดำริจัดงานช้างขึ้นครั้งแรกในเวลาต่อมาเมื่อ
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 เป็นการฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ โดยจัดบริเวณสนามบินเก่าอำเภอท่า
ตูม (ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงเรียนประชาเสริมวิทย์) การจัดงานครั้งนั้นมีรายการแสดง การเดินขบวนแห่
ช้าง การคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว และยังมีการแสดงรื่นเริงอื่นๆ ประกอบอีกด้วย เช่น มีการ
แข่งเรือ แข่งขันกีฬาอำเภอ งานครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะได้มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์
และหนังสือพิมพ์ ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจมาก องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย (อ.ส.ท.ปัจจุบันคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ท.ท.ท.) จึงเสนอกระทรวงมหาดไทย
ให้การสนับสนุนจัดการแสดงเกี่ยวกับช้างของจังหวัด สุรินทร์เป็นงานประเพณีและเป็นงานประจำปี
โดยวางแผนประชาสัมพันธ์ทั้งใน และนอกประเทศให้ดี งานนี้จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
สุรินทร์ได้เป็นอย่างดี

     ดังนั้น อ.ส.ท. จึงได้ร่วมมือกับจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่มาฝึกช้าง กำหนดรูปแบบเพื่อดึงดูด
นักท่องเที่ยว กำหนดงานเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เป็นปีที่ 2 จัดที่ อำเภอท่าตูมเช่นเดิม
งานช้างปีที่ 2 ประสบความสำเร็จด้วยดี มีหลักฐานยืนยันได้คือ หนังสือพิมพ์ เซ่นซีลอนอ๊อฟเซิฟเวอร์
พิมพ์ในศรีลังกา ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ข้อเขียนของมีสเตอร์อัลแฟน ซตาเร็กซ์ เป็นนักข่าว
ชาวศรีลังกามีโอกาสมาเที่ยวงานช้างจังหวัดสุรินทร์แล้วกลับไป เขียนเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า "รายการนำ
เที่ยว ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม รายการหนึ่งของไทย ก็คือการนำชมการคล้องช้าง ซึ่งน่าดูยิ่ง
นักที่จังหวัดสุรินทร์ ในทุกเดือนพฤศจิกายน เป็นรายการที่ทำรายได้ถึง 50 รูปี เมื่อปีก่อน" (ปราโมทย์
ทัศนาสุวรรณ.2519 : 243-245)

     การแสดงของช้างในปีต่อๆมา ได้ปรับปรุงรูปแบบให้สวยงาม น่าตื่นเต้นมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยเฉพาะในรายการแสดงของช้าง ประกอบด้วยรายการต่างๆ ได้แก่ขบวนช้างพาเหรด ช้างปฏิบัติ
ตามคำสั่งช้างแสนรู้ ช้างวิ่งเร็ว ช้างวิ่งข้ามคน ช้างเตะฟุตบอล และขบวนช้างศึก
เป็นอันว่าตั้งแต่มีการแสดงช้างของจังหวัดสุรินทร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ก็ได้มีการจัด
งานแสดงช้างต่อเนื่องมาทุกปี ทำให้คนทั้งในประเทศรู้จักช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นอย่างดีว่าเป็นจังหวัด
ที่ มีช้างที่แสนรู้มากที่สุด ต่อมาเมื่อการแสดงช้างเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้น ทางคณะกรรมการ
เห็นว่าควรย้ายสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูมมายังสถานที่ใกล้ไปมา สะดวกเพื่อความเหมาะสมจึง
ได้มาจัดการแสดงที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สมัยนายคำรณ สังขกร เป็นผู้ว่าราชการ
จังหวัดขณะนั้น ซึ่งปีปัจจุบัน ๒๕๕๕ การจัดงานมหัศจรรย์งานช้าง เป็นครั้งที่ ๕2

History of Surin Elephant RoundUp


     About 50 kilometers away in the north of Surin, Krapo Sub-district, Thatoom District and Nanongphai Sub-district, Chumphonburi District are the homes of native people, called Guai or Suai. They have trained the elephants to be the domestic animals and use them as the animals in the ceremony. The villagers prefer to feed their elephants, that’s why they recognize the elephant by the name of the village. The elephant village situates near the bank of Moon and Chee river. The land where the elephant village situates now, in the past was a rich forest.


     On November 19, 1960, Mr. Winai Suwannakard - Thatoom’s former district - chief officer, has promoted the elephant round - up at the old airport which is now the area of the Thatoomprachasermvit School. The purpose of the round - up was to celebrate the new district office. The activities consisted of many interesting events such as an elephants parade, elephants racing and the elephants capture. The first roundup was very interesting by to both Thai and foreigners and so, by public relations, was spread all over the world.
One year later in 1961, the Tourism Authority of Thailand (TAT) realised the possibility of tourism and began supporting and setting up the procedure of performances while persuading the tourists to visit the roundup.


     In 1962, The cabinet agreed to take the elephant round - up in Surin on as the annual fair of the nation. Mr. Kamron Sungkhakorn - the Surin Governor at that time has moved the elephant roundup site from Thatoom to the provincial stadium because of the inconvenience of the old site. Until now the provincial stadium is known and accepted as the Surin Elephant Show Stadium.

http://www.surin.go.th/show/index.php

จังหวัดสุรินทร์

ตราสัญญาลักษณ์ ประจำจังหวัด

 จังหวัดสุรินทร์มีช้างมากมายแต่โบราณ และมีผู้จับช้างป่ามาเลี้ยงเสมอดวงตราของจังหวัดจึงเป็นรูปช้าง ภาพเจดีย์ปรักหักพังเบื้องหลังแสดงถึงอิทธิพลการก่อสร้างของขอมโบราณ


คำขวัญ : สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม
ต้นไม้ประจำจังหวัด : มะค่าแต้
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา
ลักษณะนิสัยใจคอ ผู้คน :ยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจ เป็นมิตร และรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
วิถีชีวิต : แบบพอเพียง พึ่งพาอาศัยกัน และให้เกีรติซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน
คติพจน์ :"สามัคคีคือพลัง"

ศิลปะ - วัตนธรรม - ประเพณี

 ศิลปะ - วัตนธรรม - ประเพณี

งานแสดงช้าง
จังหวัดสุรินทร์เป็นดินแดนที่มีช้างมากมาแต่โบราณ ชาวเมืองในอดีตหรือที่เรียกว่าส่วย ได้จับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้เป็นพาหนะและขนส่ง การควบคุมบังคับขี่ช้างของชาวสุรินทร์ได้ เคยทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมาแล้ว และเมื่อการแสดงของช้าง ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2503 นั้นทำให้จังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศ กำหนดจัดงานขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นงานประจำปี ระดับชาติ แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกมาร่วมชมงานนี้ เป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่ นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยและจังหวัดสุรินทร์ การแสดงของช้างประกอบด้วยการแสดง คล้องช้าง การชักเย่อระหว่างช้างกับคน ช้างแข่งฟุตบอล ช้างเต้นระบำ ขบวนพาเหรด ขบวน ช้างศึกรวมทั้งการแสดงศิลปะพื้นเมือง

งานประเพณีบวชนาคแห่ช้าง จัดขึ้นในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 (ราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ณ วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จะมีการแห่แหนบรรดานาคด้วยขบวนช้างกว่า 50 เชือก ข้ามลำน้ำมูลกันอย่างเอิกเกริก พิธีโกนผมนาค พิธีแห่นาคช้างไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ และพิธีอุปสมบทนาค

สถานที่สำคัญ - แหล่งท่องเที่ยว

สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง
  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ เดิมเคยเป็นกำแพงเมืองชั้นในของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านในการบังคับช้างศึกและเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์

ศาลหลักเมืองสุรินทร์
  ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร เดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมือง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้มาจากอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517


วนอุทยานพนมสวาย
  เป็นภูเขาเตี้ยๆ มียอดเขาอยู่ 3 ยอด ยอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาชาย (พนมเปราะ) สูง 210 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดขึ้นถึงวัด มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา   บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล


ปราสาทเมืองที
  ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมร ที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่มีประตู เนื่องจากการดัดแปลง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี 3 ชั้นเลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย นับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ และมีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์


วัดบูรพาราม
  ตั้งอยู่ที่ถนนกรุงศรีใน ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างพร้อมกับวัดบูรพาราม


ห้วยเสนง
  เป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทาน เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูง บนสันเขื่อนเป็นถนนลาดยาง ภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


ปราสาทบ้านไพล
  ตั้งอยู่ที่ตำบลไพล   ตัวปราสาทมีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยอิฐขัดตั้งเรียงเป็นแนวเดียวกัน มีคูน้ำล้อมรอบ ยกเว้นทางเข้าด้านทิศตะวันออก ศิวลึงค์และทับหลังบางส่วนหายไป สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16



ปราสาทหินบ้านพลวง
  ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง เป็นปราสาทหินขนาดเล็กแต่ฝีมือการสลักหินประณีตงดงามมาก   ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียวส่วนด้านอื่นอีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และมีอิฐเป็นวัสดุร่วมก่อสร้างในส่วนบนของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมจำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบ ถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดิน เดิมเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนมาก่อน


ปราสาทตาเมือน
  ที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด


ปราสาทตาเมือนโต๊ด
เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้


ปราสาทตาเมือนธม
  อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำและที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน


ปราสาทศรีขรภูมิ
  ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง ประกอบด้วยปรางค์อิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออก ปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุนปรางค์ ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาล ส่วนปรางค์บริวารพบทับหลัง 2 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณาวตาร ทั้งสองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์ จากลวดลายที่เสาและทับหลังขององค์ปรางค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน และแบบนครวัด


ปราสาทตะเปียงเตีย
  ตั้งอยู่ตำบลโชกเหนือ ภายในบริเวณวัดปราสาทเทพนิมิตร ลักษณะปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดปราสาท 5 ยอด เป็นรูปบัวตูม ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐ ลักษณะการก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย


ปราสาทภูมิโปน
ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลัง ปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน


ปราสาทยายเหงา
  ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียร จากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท 3 องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย



ปราสาทจอมพระ
  ตั้งอยู่ตำบลจอมพระ มีลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า อโรคยศาล มีโครงสร้างที่ยังสมบูรณ์อยู่มาก อาคารต่าง ๆ ก่อด้วยศิลาแลงและใช้หินทรายประกอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะแบบอโรคยศาลดังที่พบในที่อื่น คือ ปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขหน้า บรรณาลัยหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ทางด้านหน้า มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูรูปกากบาทและสระน้ำนอกกำแพง โบราณวัตถุสำคัญที่พบได้แก่ เศียรพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 1 เศียร และรูปพระวัชรสัตว์ 1 องค์เช่นเดียวกับที่พบที่อโรคยศาลในอำเภอ พิมายและที่พระปรางค์วัดกู่แก้ว จังหวัดขอนแก่น โบราณวัตถุเหล่านี้เป็นรูปเคารพในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน มีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบบายน เป็นแบบศิลปะที่เจริญอยู่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม

โรงแรม - รีสอรต์ - ที่พัก

โรงแรม - รีสอรต์ - ที่พัก




โรงแรม : ทองธารินทร์ (thong tarin hotel surin)

60 ถนนศิริรัฐ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุริทร์ 32000

ราคาจองห้องพักเริ่มต้น 875บาท














โรงแรม : เกษมการ์เดนโฮเต็ลสุรินทร์
                 
 277 ถนน เลี่ยงเมือง, หมู่ 18, ตำบลเฉนียง,สุรินทร์, ไทย

                                                      

                                                     



โรงแรม : มณีโรจน์ สุรินทร์ (Maneerote Hotel Surin)
11/1 ซอย ปอยตังกอ ถนน กรุงศรีใน, เมืองสุรินทร์, สุรินทร์, ไทย 32000

งานเทศกาลสินค้า OTOP จังหวัดสุรินทร์



    เซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ จัดงาน SURIN FESTIVAL : PHUKET ตั้งแต่วันที่ 8-10 มิถุนายน 2555 ณ ลานไอทีโซน ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต มีนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ (รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต), นายนิรันด์ กัลยาณมิตร (ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์) และนางสาววิไลพร ปิติมานะอารี (ผู้อำนวยการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต) ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน และภาคเอกชนเกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต ร่วมต้อนรับ คณะจากจังหวัดสุรินทร์ ที่มาจัดงานในครั้งนี้

    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเชื่อมโยงและเพิ่มช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) และเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

    สินค้า OTOP/SMEs ที่จำหน่ายในงานประกอบด้วย สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้ามหอมมะลิอินทรีย์ หัวผักกาดหวาน น้ำพริก หมูหยอง เป็นต้น ,สินค้าประเภทผ้า ได้แก่ ผ้าไหมสุรินทร์ ,ประเภทเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เครื่องประดับทำจาก เงิน หินสี และงาช้าง ,ของใช้ของใช้ของที่ระลึก ได้แก่เครื่องหอมหน้ากากแฟนซี ใบบัววิจิตร ผ้าห่ม ไหมพรม และตะกร้าสาน และสินค้าประเภทสมุนไพร ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร เป็นต้น

งานช้างจังหวัดสุรินทร์

งานช้างจังหวัดสุรินทร์

ประวัติ / ความเป็นมา
          ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย" 
ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย) อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำไปลากไม้ในป่า
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข และฝึกสอนให้แสดงกิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะได้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัว จนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมการแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2504  เป็นต้นมา
แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกันมาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า.. 


          ในปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่า จะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และเนื่องจากชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้างเกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ
เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมายรวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้น ได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงครั้งนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503มีการเดินขบวนพาเหรดของช้าง การแสดงการคล้องช้าง และการแข่งขันช้างวิ่งเร็ว มีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60เชือก จากการแสดงคราวนั้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เผยแพร่ไปทั่ว ทำให้เกิดความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.)จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้น นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัด และประชาชนทั่วไปก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไปสู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัด และให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติ และจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศให้แพร่หลายไปด้วย
ดังนั้น ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานแสดงของช้างขึ้น เป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร
จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้งานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์จึงกลายเป็นงานประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน


กำหนดงาน
กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี  สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่  www.tat.or.th/festival



กิจกรรม / พิธี

          การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึกช้างป่า ช้างทำงาน และการละเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้างแข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงาม และการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย  นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกันถ้วนหน้า

          การแสดงของช้างเริ่มด้วยฉากแรกชื่อว่า "จ่าโขลง" แสดงให้เห็นถึงชีวิตของช้างป่าตามธรรมชาติซึ่งอยู่รวมกัน การแสดงครั้งนี้ก็จะปล่อยช้างออกมาบริเวณสนามแสดงช้างหลายสิบเชือก โดยไม่มีควาญช้างบังคับ เพื่อให้สมจริงสมจังกับการเป็นช้างป่า เมื่อมีช้างป่าชาวบ้านก็มีความต้องการที่จะจับช้างมาเลี้ยงไว้ใช้งาน แต่การจับช้างของชาวบ้านไม่ใช่อยู่ๆ ก็จับมาเลย ต้องมีการทำพิธีกันเสียก่อน ฉากต่อมาจึงมีชื่อชุดว่า "กวย" ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีปะกำ ก่อนออกไปคล้องช้างตามความเชื่อที่ว่า ช้างแต่ละเชือกมีผีปะกำดูแลอยู่ ดังนั้นหน้าบ้านของคนเลี้ยงช้างทุกบ้านจะมีศาลปะกำเพื่อไว้เป็นที่เก็บเชือกกำปะกำและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้  โดยแสดงให้เห็นถึงการประกอบพิธีอย่างโบราณ ด้วยการให้หมอเฒ่า หรือปะกำหลวงมาแสดงให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมไปด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้ชมกับผู้แสดงอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดบางอย่างอย่างใกล้ชิด เช่น การสวด สีหน้า ท่าทางของผู้ประกอบพิธีเมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะออกไปคล้องช้างกันการเข้าไปคล้องช้างในป่าจะกินเวลานานถึง 2-3 เดือน ฉะนั้นผู้ที่คล้องช้างจึงต้องเป็นผู้ชาย และผู้ที่คล้องช้างได้ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือในความเป็นชายเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล เป็นที่หมายปองแก่บรรดาสาวๆ และที่สำคัญช้างเชือกหนึ่งมีราคาไม่ใช่น้อย ดังนั้น การคล้องช้างได้ถือเป็นการยกฐานะของคนที่คล้องช้างได้ไปในตัวด้วยฉากต่อมาชื่อชุดว่า "จากป่าสู่บ้าน" เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคล้องช้าง ผู้ชำนาญจะคล้องช้างที่เป็นแม่ลูกอ่อน เพราะถ้าหากคล้องลูกช้างได้ก็เหมือนกับได้ตัวแม่ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแม่ช้างจะห่วงลูกน้อยทำให้ไม่ยอมไปไหน การแสดงฉากนี้คนก็ลุ้นอยากให้คนคล้องช้างได้ หลายคนก็ลุ้นให้ช้างหลุดรอดไปได้ ซึ่งคนดูทุกคนจะตื่นเต้นสนุกสนาน การแสดงฉากนี้ดูเหมือนว่าจะคล้องช้างไม่ได้เสียมากกว่า เพราะช้างที่แสดงเป็นช้างบ้านที่ฉลาด ได้รับการฝึกฝนมาแล้วจึงรู้วิธีหลบหลีกเป็นอย่างดี คนที่ลุ้นให้ช้างรอดก็โล่งใจกันเป็นแถว"สร้างบ้าน แปงเมือง" เป็นการแสดงในฉากต่อมา โดยนำช้างออกมาแสดงความสามารถทั้งการใช้งาน เช่น การลากซุง และการแสดงตามคำสั่งต่างๆ ซึ่งก็น่ารัก น่าเอ็นดู เพราะช้างตัวใหญ่อุ้ยอ้ายการที่จะต้องมาแสดงท่าทางเลียนแบบคน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกช้างไต่ราว การให้ช้างนั่งบนถังในท่านั่งเหมือนคนหรือเดินสองขาเหมือนคน ในขณะที่การแสดงของช้างดำเนินอยู่ ก็จะมีเด็กๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่งกายชุดพื้นบ้านมาแสดงการละเล่นของเด็กในสมัยก่อนที่มักจะหาของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเดินกะลา ล้อไม้ ม้าก้านกล้วย เดินโทงเทง ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน แต่ที่น่าชมและชอบใจของคนดูทั้งสนามก็คงจะเป็นช้างชกมวย ไม่ใช่ช้างชกกับช้าง แต่เป็นช้างกับคน โดยเขาจะใส่นวมที่งวงช้างเพื่อให้ชกแทนการใช้มืออย่างคน การชกเป็นไปอย่างดุเดือดเพราะแต่ละหมัด(งวง) ของช้างหนักหน่วง จนทำให้คนต้องลงไปนอนให้กรรมการนับหลายครั้ง และก็ปรากฏว่าช้างชนะน็อคไปตามระเบียบ ดัวยหมัดฮุคอย่างรุนแรง เป็นที่สนุกสนานเฮฮาของคนดู  หลังจากการแสดงอันแสนรู้ของช้างผ่านไปแล้ว ก็เป็นการแสดงคนในชื่อชุดว่า "ประเพณี" เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวสุรินทร์ คือ การแสดงเรืออันเร และการแห่บั้งไฟ  การแสดงเรืออันเร ประกอบด้วยดนตรีพื้นบ้านคือ กันตรึม การรำคล้ายกับการรำลาวกระทบไม้ การแห่บั้งไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสานที่แห่บูชาพญาแถนเพื่อขอฝน ขบวนแห่ในวันนั้นมีการจัดไว้อย่างสวยงาม มีผู้ร่วมขบวนนับร้อย ทุกคนล้วนแต่งกายสีสันสดใสด้วยผ้าพื้นเมือง ฝีมือการทอของชาวบ้านเอง
 
   การบวชนาค เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง เพราะคหบดีในสมัยก่อนนิยมใช้ช้างร่วมแห่นำในขบวนแห่นาค และการแห่นาคที่จังหวัดสุรินทร์จะต่างจากที่อื่นตรงที่นิยมให้มีการรำมวยไทยนำหน้าขบวนแห่นาค และมีวงมโหรีอยู่บนหลังช้าง ปิดขบวนด้วยระนาด ฆ้อง ปี่ และตะโพน เมื่อบวชนาคแล้วต้องมีการฉลองพระใหม่ ก็ได้มีการแสดงชื่อชุดว่า "ฉลองพระ" ซึ่งสมัยก่อนการฉลองพระเป็นการแข่งขันและเล่นเกมของคน แต่ต่อมาใช้ช้างเล่นแทน ซึ่งก็ให้ความสนุกสนานไม่แพ้คนเล่นเองการแข่งขันของช้างมีหลายเกม คือ ช้างวิ่งแข่ง ช้างเตะฟุตบอล ช้างเก็บของ สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่า ช้างเชือกไหนฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้าง โดยเฉพาะเขาวางน้ำอัดลม แตงโม กระติ๊บข้าว กล้วย ช้างบางเชือกก็เก็บของเหล่านี้ให้ควาญช้างทั้งหมด แต่ก็มีบางเชือกเก็บเข้าปากตัวเอง เพราะของที่เก็บไม่ว่าจะเป็นกล้วยหรือแตงโม ล้วนแต่เป็นของโปรดของช้างทั้งนั้น ซึ่งก็สร้างความครื้นเครงให้กับคนดูพอสมควรในความเจ้าเล่ห์ของช้างบางเชือกที่สนุกสนานที่สุดเห็นจะเป็นตอนช้างเตะฟุตบอล ซึ่งแบ่งช้างออกเป็น 2ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่ เหมาะสมกับตัวของช้างมาเตะกันจริงๆ เกมการแข่งขันจะดูวุ่นวาย เพราะช้างบางตัวขี้โกงใช้งวงอุ้มลูกฟุตบอล แทนที่จะเตะฟุตบอล สร้างความขบขันให้กับคนดูเป็นอย่างมากและการแสดงที่ยิ่งใหญ่ตระการตาก็มาถึง ในฉากที่ชื่อว่า "บารมีปกเกล้า" ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงขบวนพยุหยาตราทัพ อันเป็นแสนยานุภาพพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขในอดีต ซึ่งมีช้างเป็นกำลังสำคัญในการแสดงแสนยานุภาพนั้น ฉากนี้นับเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยผู้แสดงนับพัน การแต่งกายก็สมจริง ทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง


ขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

สุรินทร์แห่เทียนพรรษา

ภาพ/ข่าวจาก ศูนย์ข่าว surinnews.com

สุรินทร์ ช่างเทียนเร่งตกแต่งขบวนเทียนให้ทันงานร่วมงานมหกรรมแห่เทียนพรรษา 85 ไอยรา และตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก พร้อมใช้เทียนและขี้ผึ้งเก่ามาหล่อใหม่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อวันที่ 27 ก.ค.55 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศการแตกแต่งขบวนเทียนของคุ้มวัดต่างๆในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ เพื่อให้ทันเข้าร่วมงานมหกรรมแห่เทียนพรรษา 85 ไอยรา และตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลกประจำปี 2555 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 29-30 ก.ค. 2555 นี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามของชาวไทย
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ โดยในปีนี้จังหวัดสุรินทร์จะจัดอย่างยิ่งใหญ่เหมือนเช่นทุกปี และที่สำคัญในปีนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานและร่วมเป็นประธานในพิธีตักบาตรบนหลังช้างอีกด้วย ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีมาประชุมสัญจรที่จังหวัดสุรินทร์ระหว่างวันที่ 29 - 30 ก.ค. 2555 นี้

โดยพบว่าช่างเทียนตามคุ้มวัดและโรงเรียนต่างๆ ต่างได้เร่งประดับตกแต่งลวดลายรถขบวนเทียนพรรษากันอย่างคึกคัก เพื่อให้ทันวันงาน ซึ่งเหลือเวลาอีก 2 วันเท่านั้น โดยเฉพาะรถขบวนเทียนพรรษาของวัดจุมพลสุทธาวาส ที่ช่างเทียนต่างเร่งไม้เร่งมือประดับตกแต่งลวดลายภายในโรงตกแต่ง หลังโรงเรียนหนองโตง อ.เมือง จ.สุรินทร์ กันอย่างปราณีตสวยงามโดยปีนี้ช่างเทียนได้นำเทียนและขี้ผึ้งทั้งเก่าและใหม่มาหล่อรวมกันเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย


นายรอบ มูลศาสตร์ อายุ 73 ปี ช่างเทียนวัดจุมพลสุทธาวาส กล่าวว่า ภาพขบวนต้นเทียนปั้นเป็นประวัติของพระพุทธเจ้าสมัยจำพรรษาในป่า จากนั้นก็มีลิงและช้างมาถวายน้ำผึ้งและอ้อย ส่วนต้นเทียนเป็นลายกนกก้านขบ ประกอบด้วยพญานาคและมังกรขนาบข้าง เนื่องจากปีนี้เป็นปีงูใหญ่ หรือปีมะโรง

ซึ่งจะมีเขียนตัวหนังสือประกอบประวัติพระพุทธเจ้าและองค์ประกอบต่างๆภายในขบวนรถอีกด้วย ทั้งนี้เราจะให้ความสำคัญกับเทียนและขี้ผึ้งเก่านำมาหล่อรวมกันเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีกทาง ซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันวันงานอย่างแน่นอน
นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า การจัดงานมหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง เป็นงานประจำปีที่มีความสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ จัดขึ้นเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ให้คงอยู่สืบไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับปีนี้ เป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555
และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา 28 กรกฎาคม 2555 จังหวัดสุรินทร์ จึงกำหนดจัดงานมหกรรมแห่เทียนพรรษา 85 ไอยรา และงานตักบาตรบนหลังช้าง ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2555 บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด


กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดขบวนแห่เทียนพรรษาด้วยขบวนช้างที่ประดับด้วยแสงไฟสวยงาม จำนวน 85 เชือก พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ


นอกจากนี้ยังมีการจัดการประกวดเทียนพรรษา การประกวดโต๊ะหมู่บูชา การประกวดสวดมนต์สรภัญญะ และบรรยายธรรม โดยเฉพาะในวันที่ 30 กรกฎาคม เวลา 07.00 น. มีพิธีตักบาตรบนหลังช้างหนึ่งเดียวในโลก บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานตักบาตรบนหลังช้าง

ลานกิจกรรมที่อยากได้

1.หลังคากันแดดกันฝน บริเวณหน้าสโมสรการจัดการ
2.อยากให้ซ่อมแซมประตูทางขึ้นชั้น2 คณะวิทยาการจัดการ
3.ซ่อมแซมห้องน้ำนักศึกษา(ชาย) ชั้น1 คณะวิทยาการจัดการ
4.อยากได้ป้ายประกาศ บอร์ดติดประกาศ หน้าสโมสร