เมื่อปี พ.ศ. 2498 มีการรวมช้างทั้งหมดในจังหวัดในจังหวัดสุรินทร์ ขึ้นเป็นครั้งแรก มี
การรวมกันประมาณ 200 เชือก ที่ อำเภอท่าตูม โดยนายอำเภอท่าตูมคือ นายวินัย สุวรรณกาศ เป็นผู้
จัดขึ้น ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจมาก นายอำเภอจึงดำริจัดงานช้างขึ้นครั้งแรกในเวลาต่อมาเมื่อ
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 เป็นการฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ โดยจัดบริเวณสนามบินเก่าอำเภอท่า
ตูม (ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงเรียนประชาเสริมวิทย์) การจัดงานครั้งนั้นมีรายการแสดง การเดินขบวนแห่
ช้าง การคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว และยังมีการแสดงรื่นเริงอื่นๆ ประกอบอีกด้วย เช่น มีการ
แข่งเรือ แข่งขันกีฬาอำเภอ งานครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะได้มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์
และหนังสือพิมพ์ ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจมาก องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย (อ.ส.ท.ปัจจุบันคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ท.ท.ท.) จึงเสนอกระทรวงมหาดไทย
ให้การสนับสนุนจัดการแสดงเกี่ยวกับช้างของจังหวัด สุรินทร์เป็นงานประเพณีและเป็นงานประจำปี
โดยวางแผนประชาสัมพันธ์ทั้งใน และนอกประเทศให้ดี งานนี้จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
สุรินทร์ได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น อ.ส.ท. จึงได้ร่วมมือกับจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่มาฝึกช้าง กำหนดรูปแบบเพื่อดึงดูด
นักท่องเที่ยว กำหนดงานเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เป็นปีที่ 2 จัดที่ อำเภอท่าตูมเช่นเดิม
งานช้างปีที่ 2 ประสบความสำเร็จด้วยดี มีหลักฐานยืนยันได้คือ หนังสือพิมพ์ เซ่นซีลอนอ๊อฟเซิฟเวอร์
พิมพ์ในศรีลังกา ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ข้อเขียนของมีสเตอร์อัลแฟน ซตาเร็กซ์ เป็นนักข่าว
ชาวศรีลังกามีโอกาสมาเที่ยวงานช้างจังหวัดสุรินทร์แล้วกลับไป เขียนเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า "รายการนำ
เที่ยว ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม รายการหนึ่งของไทย ก็คือการนำชมการคล้องช้าง ซึ่งน่าดูยิ่ง
นักที่จังหวัดสุรินทร์ ในทุกเดือนพฤศจิกายน เป็นรายการที่ทำรายได้ถึง 50 รูปี เมื่อปีก่อน" (ปราโมทย์
ทัศนาสุวรรณ.2519 : 243-245)
การแสดงของช้างในปีต่อๆมา ได้ปรับปรุงรูปแบบให้สวยงาม น่าตื่นเต้นมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยเฉพาะในรายการแสดงของช้าง ประกอบด้วยรายการต่างๆ ได้แก่ขบวนช้างพาเหรด ช้างปฏิบัติ
ตามคำสั่งช้างแสนรู้ ช้างวิ่งเร็ว ช้างวิ่งข้ามคน ช้างเตะฟุตบอล และขบวนช้างศึก
เป็นอันว่าตั้งแต่มีการแสดงช้างของจังหวัดสุรินทร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ก็ได้มีการจัด
งานแสดงช้างต่อเนื่องมาทุกปี ทำให้คนทั้งในประเทศรู้จักช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นอย่างดีว่าเป็นจังหวัด
ที่ มีช้างที่แสนรู้มากที่สุด ต่อมาเมื่อการแสดงช้างเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้น ทางคณะกรรมการ
เห็นว่าควรย้ายสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูมมายังสถานที่ใกล้ไปมา สะดวกเพื่อความเหมาะสมจึง
ได้มาจัดการแสดงที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สมัยนายคำรณ สังขกร เป็นผู้ว่าราชการ
จังหวัดขณะนั้น ซึ่งปีปัจจุบัน ๒๕๕๕ การจัดงานมหัศจรรย์งานช้าง เป็นครั้งที่ ๕2
History of Surin Elephant RoundUp
About 50 kilometers away in the north of Surin, Krapo Sub-district, Thatoom District and Nanongphai Sub-district, Chumphonburi District are the homes of native people, called Guai or Suai. They have trained the elephants to be the domestic animals and use them as the animals in the ceremony. The villagers prefer to feed their elephants, that’s why they recognize the elephant by the name of the village. The elephant village situates near the bank of Moon and Chee river. The land where the elephant village situates now, in the past was a rich forest.
On November 19, 1960, Mr. Winai Suwannakard - Thatoom’s former district - chief officer, has promoted the elephant round - up at the old airport which is now the area of the Thatoomprachasermvit School. The purpose of the round - up was to celebrate the new district office. The activities consisted of many interesting events such as an elephants parade, elephants racing and the elephants capture. The first roundup was very interesting by to both Thai and foreigners and so, by public relations, was spread all over the world.
One year later in 1961, the Tourism Authority of Thailand (TAT) realised the possibility of tourism and began supporting and setting up the procedure of performances while persuading the tourists to visit the roundup.
In 1962, The cabinet agreed to take the elephant round - up in Surin on as the annual fair of the nation. Mr. Kamron Sungkhakorn - the Surin Governor at that time has moved the elephant roundup site from Thatoom to the provincial stadium because of the inconvenience of the old site. Until now the provincial stadium is known and accepted as the Surin Elephant Show Stadium.
http://www.surin.go.th/show/index.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น